SHINKANSEN

ดีไซน์ภายนอก

"อนาคตแห่ง Wa (ความกลมกลืน)" ที่โลดแล่นผ่านภูมิภาค Hokuriku

ดีไซน์ของรถไฟ Hokuriku Shinkansen เป็นดีไซน์ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าและสุนทรียภาพแห่ง Wa (ความกลมกลืน) ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเป็นดีไซน์ที่สื่อให้เห็นถึงความต้องการในการเชื่อมต่อไปสู่อนาคต

"อนาคตแห่ง Wa (ความกลมกลืน)" ที่โลดแล่นผ่านภูมิภาค Hokuriku

ดีไซน์ภายนอกที่สัมผัสได้ถึงความเร็วและความเด็ดเดี่ยว

รูปทรงส่วนหัวของรถไฟมีดีไซน์อันปราดเปรียวลื่นไหลที่เรียกว่า "One-motion Line" โดยมีการใช้สีแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นพร้อมกับก่อร่างรูปทรงอย่างประณีตเพื่อการโลดแล่นด้วยความเร็วสูง
ดีไซน์ภายนอกที่ผสมผสานกลิ่นอายแบบดั้งเดิมกับอนาคตเข้าไว้ด้วยกันก่อให้เกิดภาพลักษณ์อันงดงามที่น่าชมของรถไฟซึ่งดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทิวทัศน์ธรรมชาติเลียบเส้นทางเดินรถไฟ

สีฟ้า (สีส่วนลำตัวและเส้นแถบด้านบนของรถไฟ)

สีฟ้า (สีส่วนลำตัวและเส้นแถบด้านบนของรถไฟ)

แทนสีฟ้าของท้องนภาอันกว้างใหญ่ที่ปกคลุมเหนือเส้นทางเดินรถไฟ Hokuriku Shinkansen

สีทองแดง (สีเส้นแถบด้านข้างของรถไฟ)

สีทองแดง (สีเส้นแถบด้านข้างของรถไฟ)

แทนสีทองแดงของงานศิลปหัตถกรรมโบราณของญี่ปุ่นทั้งเครื่องทองแดงและงานคร่ำเงินคร่ำทอง

สีขาวงาช้าง (สีส่วนลำตัวของรถไฟ)

สีขาวงาช้าง (สีส่วนลำตัวของรถไฟ)

แทนความสงบและความงดงามในแบบญี่ปุ่น

เทคโนโลยี

ดีไซน์ "One-Motion Line" ของหัวรถไฟที่เกิดจากความเอาใจใส่ในเรื่องการจัดการด้านสภาพแวดล้อม

รูปแบบดีไซน์ของหัวรถไฟที่เรียกว่า "One-Motion Line" เป็นรูปทรงอันเรียบง่ายและปราดเปรียวเพรียวลมซึ่งช่วยลดการเกิดเสียงรบกวน

ตู้รถไฟชั้น GranClass ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Full Active Suspension

ในตู้รถไฟชั้น GranClass (ตู้รถไฟตู้ที่ 12 ของขบวน) มีการใช้เทคโนโลยี Full Active Suspension (ระบบควบคุมการป้องกันการสั่นสะเทือน) เพื่อการเดินรถที่ดียิ่งขึ้น

การพัฒนาระบบเบรกเพื่อสมรรถนะที่เหนือชั้น

รถไฟ Hokuriku Shinkansen มีการพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะด้านการเบรกเพื่อย่นระยะการเบรกให้สั้นลงกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ

อุปกรณ์ต่อเชื่อมไฟฟ้าที่ไร้เสียงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อุปกรณ์ต่อเชื่อมไฟฟ้าแบบแขนเดียว (Single-arm Pantograph) ที่เรียบง่ายของรถไฟ Hokuriku Shinkansen สอดรับกับหลักอากาศพลศาสตร์อย่างดีเยี่ยมและช่วยลดการเกิดเสียงรบกวน

ระบบการเดินรถที่มีความสามารถในการจัดการความถี่กำลังไฟฟ้าที่ผันแปร

เพื่อจัดการความถี่กำลังไฟฟ้าต่างระดับ ในรถไฟ Hokuriku Shinkansen แต่ละขบวนมีการใช้อุปกรณ์ที่รับความถี่ได้ทั้ง 50 Hz และ 60 Hz